เกาะพยาม จังหวัดระนอง
เกาะพยาม เดิมเรียกว่า เกาะพิยาม ซึ่งมาจากคำว่า "พอยาม" หมายถึง
การเดินทางไป เกาะพยามพอยามจึงจะถึงเกาะ (ประมาณ 4 ชั่วโมง) และเรียกกันต่อมาว่า
"เกาะพยาม" และจากคำบอกเล่าของชาวบ้านบนเกาะพยาม มาจากคำว่า
"พยายาม" เพราะในสมัยก่อนการเดินทางมาเกาะพยามเป็นไปด้วยความลำบาก
ต้องอาศัยโดยสารมากับเรือประมงของชาวบ้าน ซึ่งคาดไม่ได้ว่าจะไปจะมาเมื่อไหร่
การเดินทางยากลำบากสมกับชื่อ คำว่า "เกาะพยาม" เดิมเกาะพยาม
มีคนอาศัยอยู่ส่วนใหญ่เป็นไทยมุสลิม ในปี พ.ศ. 2500 นายสำเภา ศิริสัมพันธ์
ได้รับสัมปทานการเลี้ยงหอยมุกจากรัฐบาล ได้ใช้พื้นที่เกาะพยามเพาะเลี้ยงหอยมุก
(ฟาร์มมุก) และได้อพยพคนอาศัยอยู่เดิมไปอยู่ที่บ้านช้างแหก หมู่ที่ 8 ตำบลราชกรูด
อำเภอเมืองระนอง จึงเป็นสาเหตุที่เกาะพยามไม่มีคนมุสลิมอาศัยอยู่เลย
ต่อมาสัมปทานหอยมุกเลิกกิจการ เริ่มมีผู้คนจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี อพยพเข้ามา
โดยมาจากเกาะสมุย เกาะพะงันเกาะพยามมีความหลากหลายใน ระบบนิเวศน์ มีสัตว์ต่างๆอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น นกเงือก, นกอินทรีย์, ลิง ,หมูป่า อีกทั้งมีหาดทรายสีขาวและน้ำทะเลสวยใส
เหมือนกับเกาะสมุยเมื่อประมาณ 20ปีก่อน
บนเกาะพยามมีสถานีอนามัย, โรงเรียน
และวัดซึ่งมีอุโบสถตั้งอยู่ในทะเล อยู่บริเวณท่าเรือของเกาะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น